July 02, 2020
สอนลูกเรื่องเงินยังไงดี
วันนี้มีเรื่องเงินๆ ทองๆ ของเด็กๆมาฝากค่ะ.
เราสอนให้ลูกรู้จักตัวเลขแต่เราลืมที่จะสอนให้ลูกบริหารจัดการกับตัวเลข
สอนอะไรดี?....
#รู้จักใช้เงิน (รู้จักเหรียญและแบงค์ต่างๆ)
#หาเงิน (เด็กๆสามารถใช้เวลาว่าง มาเรียนรู้วิธีหาเงิน โดยเฉพาะถ้าเรามีกิจการส่วนตัว ให้ช่วยงานง่ายๆได้) 6 ขวบก็เริ่มได้แล้วค่ะ
#บริหารเงิน (เงินที่ได้มาจากค่าขนม แต๊ะเอี๊ย ปีใหม่ วันเกิด นำมาบริหารจัดการอะไรได้บ้าง) มีเกร็ดเล็กๆน้อยมาฝากค่ะ ใช้ได้ผลเลยทีเดียว
1. #Saving #เงินออม (เก็บอย่างเดียว ไม่เอาออกมาใช้ ครบ 1 เดีอนพาไปฝากธนาคารเอง ถ็งแม้จะไม่กี่สิบ ไม่กี่ร้อย แต่จะฝึกเด็กๆเรื่องวินัย ความสม่ำเสมอ ให้นับเงินเอง ให้เขียนใบฝากเงินเอง ถ้าเขียนยังไม่ได้ก็ให้เซ็นชื่อเอง จะได้ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของและเค้าจะถนอมเงินของเค้ามากๆค่ะ)
2. #PocketMoney #เงินค่าขนม(เผื่ออยากซื้ออะไรทานเอง เล็กๆน้อยๆ บางคนก็ไม่กันเงินในส่วนนี้เพราะไปกับคุณพ่อคุณแม่ตลอด... อิ่มจังตังค์อยู่ครบ 555)
3. #Donation เงินบริจาค/ทำบุญ(ข้อนี้ปกติเวลาเราไปวัด เรามักจะหยิบเหรียญให้ลูกๆไปหยอดตู้ แต่ถ้าเค้ามีเงินส่วนนี้แล้ว ก่อนไปทำบุญลองให้เค้านำส่วนนี้ไปด้วยนะคะ หรีอถ้าเราพาเด็กๆไปบ้านเด็กกำพร้า, บริจาคของลองชวนเด็กๆไปซื้อของซัก 1 ชิ้นที่มาจากเงินที่เค้ากันสำหรับส่วนนี้โดยเฉพาะ....จะได้ความรู้ส็กของการให้ที่แท้จริงค่ะข้อนี้ควรปลูกฝัง หยั่งลึกกันตั้งแต่เด็กๆ
4. #Personal #ของที่เค้าอยากได้ ในโอกาสพิเศษ
5. #Education เงินเพี่อการศึกษา(stationary, หนังสือต่างๆที่อยากได้)
6. #Love ฟังชื่ออาจจะงงกันนะคะ เงินส่วนนี้เป็นเงินที่กันไว้สำหรับพาคุณพ่อคุณแม่ อากง อาม่า ป้า น้า อา ไปทานข้าว ไอติม ขนม หรีอช่วยแชร์บางส่วนกับคุณพ่อคุณแม่ ในโอกาสต่างๆ เพื่อฝึกเรื่องความกตัญญู การตอบแทน แต่ข้อนี้อาจจะต้องปูพี้นบางอย่างมาด้วยค่ะ ไม่งั้นเด็กๆอาจจะงงว่าทำไมเค้าต้องจ่าย
>>> กติกาง่ายๆ สำหรับพ่อแม่อย่างเราคือ
#อย่าคิดว่าลูกยังเด็กอยู่ โตแล้วค่อยว่ากัน ... ไม่ซี...เงินเรื่องเล็ก... ลูกยังเล็ก จะเอาอะไรมากมาย
#ให้เด็กๆเลือกเองว่าจะกันเงินสำหรับส่วนไหนบ้าง(เราจะได้เรียนรู้จิตใจของลูกเรามากขึ้นค่ะ)
#สัดส่วนแล้วแต่เด็กๆเลยค่ะ ว่าเค้าอยากกันส่วนไหน เท่าไร (เราจะได้รู้ว่า ลูกเราให้ความสำคัญกับอะไร เป็นอันดับ 1 2 3 วัดจากจำนวนเงินที่ใส่)
>>> ทำไมต้องสอนเรื่องเงินตั้งแต่เด็กๆ
เพราะพอเราโตขึ้นเราจะพบว่า "ความสามารถในการใช้เงิน" เท่ากับ"ความสามารถในการหาเงิน" (หามาเท่าไรก็หมด) "ไม่สำคัญว่าเราหาเงินมาได้มากแค่ไหน" แต่สำคัญที่"เราบริหารจัดการเงินที่หามาได้ยังไงบ้าง"
สุดท้ายนี้.... เราคงไม่ได้คาดหวังตัวเลขที่เด็กสะสมได้ แต่เด็กจะได้เรืยนรู้ระหว่างเส้นทาง ความอดทน สติ การชั่งใจเวลาจะใช้เงิน การให้ การตอบแทน คุณค่าของเงิน สำคัญที่สุดคือเด็กๆจะเริ่มเข้าไจเราว่าแต่ละบาทที่หามา หรือใช้ไป มันมีคุณค่า มีค่ายังไงบ้าง
"การกระทำมักเสียงดังกว่าคำพูดเสมอ"
ปล. อุปกรณ์ในการเก็บเงิน เอาแบบง่ายๆค่ะ ใช้ถุงซิปใส่ผักนี้แหละ รวมใส่ในกล่องรองเท้านักเรียนที่ไม่ได้ใช้แล้ว 555 (แต่ถ้ามีงามกว่านื้ก็ได้นะคะ) #จุดเริ่มต้นเล็กๆ#BangkokNannyCenter